เมนู

21. อัตถิปัจจัย


[1606] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมที่
เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 2 และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัย
แก่หทยวัตถุ, หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย,
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ที่
เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ฯลฯ มหาภูตรูป เป็นปัจจัย
แก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ
ที่เกิดก่อน โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศล
และอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตถุ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน
ยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
กุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมที่
เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิดก่อน ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหาร ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่
เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1607] 2. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี4 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิด
พร้อม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุที่
เกิดก่อน โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
พระเสกขะ หรือปุถุชน พิจารณาโสตะ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ
กายะ ฯลฯ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม รูป กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็น
อุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น
ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
เห็นรูปที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยทิพยจักษุ, หทยวัตถุ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม
ที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหาร ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่
เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[1608] 3. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1609] 4. อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุ-
ปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรมด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปัจฉาชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ
ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิด
ภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปา-
ทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหาร ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุ-
ปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1610] 5. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 4 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ
อาหาระ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์1 ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 ฯลฯ มหาภูตรูป เป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูป ที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พาหิรรูป...อาหารสมุฏฐานรูป...อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่เกิดก่อน ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูป
เป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
เห็นรูปที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพ
โสตธาตุ.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่อนุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิด
ภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น อาหาระ ได้แก่กวฬีกาาราหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.
[1601] 6. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่ บุกคลพิจารณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่เกิดก่อน ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม โดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูป
เป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.
รูปายตนะที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม
ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น อาหาระ ได้แก่กวฬีการาหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.
[1612] 7. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น ปัจฉาชาตะ และ อาหาระ

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมที่
เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น อาหาระ ได้แก่ กวฬีการาหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1613] 8. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
3 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
[1614] 9. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุ-
ปาทานิยธรรม ที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม
ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1615] 10. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ที่
เกิดพร้อมเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม
ที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1616] 11. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปา-
ทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

มี อย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1617] 12. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุ-
ปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

มี 2อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ สหชาตะ รวมกับ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม
ที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย. ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ขันธ์ 1 ที่เป็นอนุ-
ปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และกายนี้ที่เป็นอนุ-
ปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อนด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 1 และกายนี้ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และกายนี้ที่เป็นอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1618] 13. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทา-
นิยธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และ
อนุปาทินนุปาทานิยธรรมนี้ ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
[1619] 14. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทินนุปาทานิยธรรม อนุปาทินนุปาทานิยธรรมและอนุปาทินน-
อนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ ปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ สหชาตะ รวมกับ ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และกายนี้ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ขันธ์ 3 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1
และกายนี้ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่ง
เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และกาย
นี้ ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ซึ่งเกิดก่อน
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1620] 15. อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุ-
ปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิติน-
ทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1620] 16. อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุ-
ปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ที่เกิดพร้อม และ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ 3 และหทย-
วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ 2 และหทยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1622] 17. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุ-
ปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง และกวฬีกา-
ราหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทินนุปา-
ทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1623] 18. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุ-
ปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมและ
มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินน-
อนุปาทานิยธรรม ที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทา
นิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย.
[1624] 19. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนอนุ-
ปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม ที่เกิดภายหลัง และกวฬีกา-
ราหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทินนุปา-
ทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1625] 20. อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ
และ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม และกายายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม และจักขุวัตถุ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นอนุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม และกายวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม และกวฬีการาหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย
แก่กายที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, กวฬีการา-
หารที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย
แก่กาย ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุ-
ปาทินนุปาทานิยธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
[1626] 21. อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 4 อย่าง คือที่เป็น สหชตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิด
พร้อม และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม
และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ฯลฯ โผฏฐัพ-
พายตนะ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอุปาทิน-
ทินนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหาร ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรมเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1627] 22. อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปา-
ทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ อาหาระ ได้แก่ กวฬีการาหาร ที่เป็นอุปาทิน
นุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็น
อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ-
ปัจจัย.
[1628] 23. อุปาทินนุปาทานิยธรรม อนุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม และอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปา-
ทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และ อินทริยะ
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง และ
กวฬิการาหาร ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย
แก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

22. อัตถิปัจจัย ฯลฯ 24. อวิคตปัจจัย


[1629] อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทินนุปา-
ทานิยธรรม ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ
วิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย ฯลฯ


การนับจำนวนวาระในอนุโลม


สุทธมูลกนัย


[1630] ในเหตุปัจจัย มี 7 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 6 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 5 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 7 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 7 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 11 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 7 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ
ในกัมมปัจจัย มี 8 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 6 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 12
วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในฌานปัจจัย มี 7 วาระ ในมัคคปัจจัย
มี 7 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปปยุคตปัจจัย มี 10 วาระ
ในอัตถิปัจจัย มี 23 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 7 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 7
วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 23 วาระ.